โดย ศาล มรดกไทย
พระเครื่องชั้นยอดเพียงสํานักเดียวในเมืองไทยซึ่งไม่มีใครเหมือน ที่มีพุทธคุณทางด้านผู้หวังปองร้ายต่อผู้บูชาต้องแพ้ภัยไปเอง สมดังคําที่กล่าวไว้ว่า “ไพรีพินาศ” ทั้งยังเป็นเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาดเมตตามหานิยมให้ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต เป็นพระเครื่องที่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องรวมถึงเซียนพระล้วนหามาบูชาติดตัว แม้แต่นักการเมืองข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นายทหาร นายตํารวจ ต่างหามาเพื่อความคุ้มครองให้ศัตรูที่คิดร้ายต้องแพ้พ่ายไปในที่สุด
ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ประมาณปี พ.ศ.2391 พระองค์ทรงถูกหม่อมเจ้าไกรสร คู่อริที่คอยกลั่นแกล้งพระองค์ในขณะที่บวช เพราะเป็นคู่แข่งในการสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากในหลวงรัชกาลที่ 3 วันหนึ่งมีผู้นําพระพุทธรูป ขนาดหน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูงถึงปลาย 21 นิ้ว ศิลปะแบบมหายานปางประทับนั่งประทานอภัยพระหัตถ์ขวาที่วางอยู่บนพระชานุหงายมือขึ้น เมื่อพระองค์ได้รับพระองค์นี้และบูชาอยู่เพียงไม่นาน คู่อริของพระองค์มีอันเป็นไปต้องโทษคดีถูกพระราชอาญาสําเร็จโทษปราหารด้วยท่อนจันทร์ ที่วัดปทุมคงคา
ในปลายสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระไพรีพินาศ” เป็นนิมิตรหมายอันดีที่ศัตรูของพระองค์แพ้พ่ายภัยไปเอง ปัจจุบันพระไพรีพินาศประดิษฐานอยู่ ณ เก๋งบนชั้นสองด้านทิศเหนือของพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร นับเป็นพระพุทธรูปองค์สําคัญองค์หนึ่งของชาวไทย
สมเด็จฯ ท่านทรงเป็นเชื้อพระวงศ์พระนามเดิม “หม่อมราชวงศ์ ชื่น นพวงศ์” ทรงเป็นพระโอรสของหม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม ทรงประสูติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2415 เมื่ออายุได้ 15 ปี ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ.2430 มีพระพรหมมุนี (เหมือน) วัดบรมนิวาสฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอาจารย์หลายๆ องค์ รวมถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ตั้งแต่ยังดํารงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส) นับได้ว่าท่านเป็นศิษย์เอกของสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้รับการถ่ายทอดวิชาศึกษาพระธรรมเป็นอย่างดีทําให้ทรงสอบได้ เปรียญ 5 ประโยค ตั้งแต่ยังทรงเป็นสามเณร
และเมื่อถึงปี พ.ศ.2435 ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษหลังจากนั้นได้สองปีทรงสอบได้เปรียญอีก 2 ประโยครวมเป็นประโยคและได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระสุคุณคณาภรณ์ในปี พ.ศ.2439 ตลอดเวลาพระองค์ทรงเป็นกําลังสําคัญในการช่วยงานทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จฯ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระราชาคณะปกครองหัวเมืองในหลายๆ มณฑล ทรงได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นตลอดมา ทั้งยังปกครองเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารต่อจากสมเด็จฯ พระอาจารย์
มาถึงในสมัย รัชกาลที่ 7 เมื่อปี พ.ศ.2471 ได้รับการสถาปนาขึ้นดํารงตําแหน่งสมเด็จพระราชาคณะมีราชทินนามว่า สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตําแหน่งเจ้าคณะใหญ่ ฝ่ายธรรมยุต ครั้นในปี พ.ศ.2488 สมเด็จพระสังฆราช (แพ) แห่งวัดสุทัศน์ ทรงสิ้นพระชนม์ ในสมัยรัชกาลปัจจุบันทรงได้รับการโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (องค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) มีพระนามว่า “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ฯ”
ที่สําคัญในปี พ.ศ.2499 ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ในคราวที่ทรงผนวชในปีนั้น ตั้งแต่พระองค์ปกครองวัดบวรฯ และได้บํารุงพระพุทธศาสนาจนมาเป็นสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นที่เคารพศรัทธาต่อประชาชน ข้าราชการ เชื้อพระวงศ์ รวมถึงพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศ จนถึงปี พ.ศ.2501 ทรงสิ้นพระชนม์รวมพระชนมายุได้ 86 ปี 66 พรรษา ดํารงตําแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ 14 ปี
เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงปกครองวัดบวรฯ ทรงสนพระทัยในพระพุทธบูชาไพรีพินาศจึงทรงสอบถามไปยังสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศฯ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ทรงสอบถามกับสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงค์ราชานุภาพ ทําให้เมื่อพระองค์ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ในหลวงรัชกาลที่ 4 ทรงให้ความเคารพนับถือ ทั้งยังเป็นพระพุทธที่มีพระนามเป็นมงคลอย่างสูง ทําให้พระองค์ซึ่งสนพระทัยในวิชาอาคมรวมถึงการสร้างพระเครื่องพระกริ่ง ซึ่งทรงเททองสร้างพระกริ่งมาก่อนหน้านั้นแล้ว
นับเป็นโอกาสดีในปี พ.ศ.2495 พระองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา เมื่อมีวาระงานฉลองในต้นปี พ.ศ.2496 จึงทรงอนุญาตให้หล่อและมีพิธีพุทธาภิเษก โดยช่างที่ทําการหล่อมาจากบ้านช่างหล่อทําพิธีที่วัดบวรฯ อย่างครบสูตร ทั้งยังได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์เก่งๆ มาร่วมในพิธีปลุกเสกหลายๆ รูป มีรูปแบบที่จัดสร้างทั้งหมดดังนี้
1 พระบูชาไพรีพินาศ
เป็นรูปพระพุทธนั่งปางมารวิชัยบนฐานบัวสองชั้น และมีฐานล่างสุดอีกหนึ่งชั้น มีขนาดหน้าตักสี่นิ้วขนาดเดียว หล่อโดยเนื้อทองเหลืองผสม ฐานล่างสุดด้านหน้าเขียนว่าพระไพรีพินาศ
2 พระกริ่งไพรีพินาศ
รูปแบบเดียวกับพระบูชาไพรีพินาศ มีขนาดสูงประมาณ 4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร มีสองแบบพิมพ์ ดูที่ฐานชั้นที่สองจะมีแบบฐานบัวเหลี่ยมและฐานบัวแหลม เป็นเนื้อทองเหลืองผสมผิวอมเหลืองเขียว ใต้ฐานเจาะรูบรรจุเม็ดกริ่งอย่างเรียบร้อย ในองค์ที่หล่อชัดเจนด้านหลังจะเห็นคําว่าไพรีพินาศที่ฐานด้านหลัง
3 พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ
มีขนาดเล็กกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีรูปแบบเหมือนพระกริ่งพิมพ์บัวเหลี่ยม เป็นเนื้อทองเหลืองผสมแบบเดียวกับพระกริ่ง พบเจอบางองค์มีการเจาะบรรจุเม็ดกริ่งเอาไว้แต่หาได้ยากมาก
4 เหรียญพระไพรีพินาศ
มีรูปทรงห้าเหลี่ยมหูในตัวสูงประมาณ 2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปพระไพรีพินาศ มีเส้นรัศมีโดยรอบใต้ฐานเขียนว่าพระไพรีพินาศ ด้านหลังมีอักขระขอมคําว่า อิ สวา สุ อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภ ภะ ล่างสุดเลข 2499 แบบเลขไทยปรากฏเอาไว้หมายถึงปีที่ฉลองอายุพระองค์ท่าน มีเนื้อทองเหลืองฝาบาตรผิวเป็นสีทองแดง เนื้อเงิน เนื้อทองคําลงยา
ซึ่งในครั้งนี้ยังมีการสร้างหม้อน้ำมนต์ และพระชัยวัฒน์ปางสมาธิขนาดเล็กจํานวนหนึ่ง ที่สําคัญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงเสด็จมาร่วมในพิธีหล่อพระในครั้งนี้ด้วย
ปัจจุบันวัตถุมงคลพระไพรีพินาศในทุกๆ แบบพิมพ์ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงมีสนนราคาและความต้องการเพิ่มขึ้นตลอดมา ด้วยพุทธคุณเป็นที่เชื่อมั่นเหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ในยุคสมัยนี้ที่มีแต่การแข่งขันในทางการค้าเพื่อให้ประสบความสําเร็จและปลอดภัยจากศัตรูที่หวังปองร้ายโดยไม่รู้ตัว เป็นหนึ่งในพระเครื่องที่น่าบูชาติดตัวแบบขาดไม่ได้เลยทีเดียว
o หากมีบัญชี Facebook สามารถใช้ในการสมัครสมาชิกได้
o กรอกอีเมล/เบอร์โทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ใช้เข้า Facebook
o กด “ตกลง” ก็จะเป็นสมาชิกเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ได้ทันที
o ใส่ชื่ออีเมล และ รหัสผ่าน และ กดตกลง
o เข้าไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบอีเมลจาก prapantip@gmail.com เมื่อรับอีเมลแล้วให้กดที่ลิงค์ที่อยู่ในอีเมล เพื่อเข้าระบบ (บางครั้งอีเมล อาจไม่ได้อยู่ที่ Inbox กรุณาตรวจสอบที่ Junk Mail)
o ในครั้งต่อไป สามารถเข้าระบบ โดยกรอกอีเมล และ รหัสผ่าน ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ต้อง เห็นรายละเอียดชัดเจน ทุกด้าน ทั้งองค์
ควร ลงรูปทุกด้าน (หน้า หลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง)
ห้าม ลงรูปไม่คมชัด ไม่ละเอียด เบลอ
ห้าม วางพระเครื่อง รวมหลายๆ องค์ ในภาพเดียว
ห้าม ลงรูปพระไม่ซ้ำกันใน 1 ประกาศ
สิ่งสำคัญ: ห้ามลงพระซ้ำกับพระที่เคยลงประกาศไปแล้ว และยังแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซด์
สินค้าที่ห้ามลงประกาศ: ชุดพระในคอ, งานทำบุญ , ข่าวพระเครื่อง, โฆษณาร้านพระ, ใบรับประกันร้านพระ, ข่าวสารพระเครื่อง, งานประกวด หรือ สินค้าอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หากพบว่าลงพระไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามประเภท หรือ ลงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการลบรายการพระนั้นๆ ออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมที่ ลงรูปพระเครื่องแบบไหน ที่ทำให้คนเข้าชมเยอะ
- ประเภทพระ (เลือกประเภทพระ 1 รายการ) ดูรายละเอียดประเภทพระ
- ชื่อพระ
- ราคา (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- รายละเอียดพระ
- รูปพระ (ลงรูปพระได้ 1-5 รูป)
- รูปถ่ายบัตรประชาชน+หน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 รูป
- พื้นที่/จังหวัด
- ผู้ขาย (ชื่อ/นามสกุล)
- เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- Line id
สถานะ | รายละเอียด |
---|---|
รอตรวจสอบ | อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล |
ไม่ผ่านการตรวจสอบ | เนื่องจาก ภาพไม่ชัด / ข้อมูลไม่ครบ /ผิดเงื่อนไข (เช่น ลงพระซ้ำ) เมื่อไม่ ผ่านการตรวจสอบจะลบประกาศออกทันที หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ลงใหม่เท่านั้น |
กำลังใช้งาน | พระแสดงหน้าเว็บไซด์แล้ว จนถึงวันที่ ..../...../..... |